สถานที่ตั้ง
โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ตั้งอยู่เลขที่ 250 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา อยู่ในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.1-ม.6) มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2564 เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร) สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และพระธรรมวชิรญาณ วิ. (จิรพล อธิจิตฺโต ป.ธ.๗) ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระพรหมวชิรรังษี วิ. เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปปัจจุบัน เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน ปัจจุบันมี นายเขษมชาติ อารีมิตร เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ประวัติความเป็นมา
ในปีพุทธศักราช 2436 (ร.ศ. 112) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง วิทยาลัย ขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหารพระราชทานนามว่า "มหามกุฏราชวิทยาลัย" เพื่อ ให้เป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกนิกาย ตาม พระดำริของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหารในขณะนั้นโดย แบ่งเป็น 2 แผนกคือส่วนวิทยาลัยใช้เป็นที่เล่า เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และจัดตั้งโรงเรียนตามพระอารามเป็นสาขาหนึ่งของ วิทยาลัยนี้ โรงเรียนวัดบวรนิเวศเป็นส่วนหนึ่งของมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยมี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นผู้จัดการพระองค์แรก ต่อมา การเรียนการสอนในโรงเรียน ได้ขยายตัวกว้างขวางออกไปตามลำดับ ในปีพุทธศักราช 2442 (ร.ศ. 1177) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว มีพระราชประสงค์ให้ขยายการศึกษาให้แพร่หลายไปทั่ประเทศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำหลักสูตรและวิธีการสอนที่ใช้ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ไปใช้สอนตามโรงเรียน ต่างๆ ทั่วประเทศ จึงถือได้ว่าโรงเรียนเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการใช้หลักสูตร เป็นแห่งแรก
การศึกษาของโรงเรียนมีวิวัฒนาการมาดังนี้ คือ
ระยะก่อนปี พ.ศ. 2450
หลักสูตรระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 – 2 – 3 ชั้น 1 เป็นชั้นสูงสุด ชั้น 3 เป็นชั้นต่ำสุด วิชาที่สอนมีวิชาภาษาไทย เลข และความรู้เกี่ยวกับพงศาวดาร นักเรียนที่จบหลักสูตรนี้ไปเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในวงราชการทั่วไป ต่อมาภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิชาการสอนไปตามหลักสูตรของกระทรวง ธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนี้)
พ.ศ. 2450 – 2460
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถม ไปจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 (เดิมมีเพียงชั้นเตรียมถึงชั้นประถมปีที่ 3 แล้วขยายไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2455 และขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2457)
พ.ศ. 2461 – 2475
ทางกระทรวงได้จัดให้นักเรียนฝึกหัดครูประถมมาเรียนร่วมอยู่ด้วย
พ.ศ. 2476 – 2481
เปิดสอนประถมปีที 1 ถึงมัธยมปีที่ 8 (ตัดชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นประถมปีที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 ถึง 2481 และเปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 7 และชั้นมัธยมปีที่ 8 ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 – 2479 ตามลำดับ)
พ.ศ. 2482 –2493
เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 6
พ.ศ. 2494
เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาเฉพาะแผนกวิทยาศาสตร์ขึ้น
พ.ศ. 2494 – 2502
เปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นเตรียมอุดม
พ.ศ. 2503 – 2505
ตัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 3 (เปลี่ยน ป.5 – ป.7)
พ.ศ. 2506
เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (เฉพาะแผนกวิทยาศาสตร์)
พ.ศ. 2507
เปิดเพิ่มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนกศิลปะขึ้น
พ.ศ. 2508 - 2518
เปิดสอนชั้น ม.ศ. 1 ถึงชั้น ม.ศ. 5
พ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน
เปิดสอนชั้น ม.1 ถึงชั้น ม.6
พ.ศ. 2560
เปิดสอนแผนการเรียน อังกฤษ-ดิจิทัล
พ.ศ. 2563
ดำเนินนโยบายโรงเรียนปลอดการบ้าน โครงการลูกแก้วนาคา และโครงการนักกีฬาฟุตซอล-ฟุตบอล
พ.ศ. 2567
นำร่อง รับนักเรียนหญิง ในชั้น ม.1 ห้องเรียน Intensive English Program (IEP) เป็นรุ่นแรก และเปิดแผนการเรียน ม.4 เป็น 5 แผนการเรียน ได้แก่ 1. วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 2. อังกฤษ-ดิจิทัล 3. ศิลป์-คำนวณ 4. ศิลป์-สังคม (ไทย-สังคม) 5. ศิลป์-ธุรกิจ และเสริมทักษะภาษาอังกฤษเข้มข้น ในปีการศึกษา 2567
สถานศึกษาและอาคารเรียน
สถานที่ศึกษาเมื่อเริ่มก่อตั้งโรงเรียน ยังมีนักเรียนไม่มากนักได้เปิดทำการสอนที่ ตึก "หอสหจร" ต่อมาย้ายไปเรียนที่ศาลาฤาษีบริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศและที่ตึกหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย (ริมคลองบางลำพู) ในปัจจุบัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวมวัดรังษีสุทธาวาสซึ่งอยู่ติด กับวัดบวรนิเวศเข้าด้วยกัน และแบ่งอาณาเขตที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ และสถานศึกษา ของนักเรียนออกจากกัน สถานศึกษาของโรงเรียนจึงได้วิวัฒนาการเรื่อยมาตามลำดับ
1."ตึกอรพินทุ์" พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพินทุ์เพ็ญภาค ทรงสร้าง เมื่อ พ.ศ.2459 เป็นตึกชั้นเดียว มี 7 ห้องเรียน
2."ตึกดำรงธรรมี" พระยาศรีบัญชา เจ้าของโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ สร้าง เมื่อ พ.ศ.2461 เป็นตึกชั้นเดียว มี 6 ห้องเรียน
3."ตึกมนุษยนาควิทยาทาน" สร้างเมื่อ พ.ศ.2466 ด้วยเงินบริจาคของพระ ประยูรญาติและศิษยานุศิษย์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดย มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธาน ในการจัดสร้าง เป็นตึก 2 ชั้น มี 12 ห้องเรียน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดบวรนิเวศวิหาร
4."ตึกวชิรญาณวงศ์" สร้างเมื่อ พ.ศ.2506 โดยรื้อ "ตึกอรพินทุ์" และ"ตึกดำรงธรรมี" ลงเนืองจากทรุดโทรมมาก แล้วสร้างตึกหลังนี้ขึ้นมาแทน โดยใช้ งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการและเงินสมทบของวัดบวรนิเวศ เป็นตึก 4 ชั้น หลัง แรกของกระทรวงศึกษาธิการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอุดลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรีไทย ดนตรีสากล ห้องโสตทัศนศึกษา ปี 2557 ได้รับงบประมาณ ซ่อมแซมรอยร้าว ทาสี ปี 2563 ได้รับงบประมาณเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากกระเบื้องเป็นเมทัลชีท ปี 2565 ได้รับงบประมาณ ติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า และปรับปรุงฝ้าเพดาน ห้องประชุมวชิรญาณวงศ์ ปี 2566 ได้รับงบประมาณให้ทาสีภายนอกอาคาร เป็นเงิน 1,337,200.00 บาท อาคารหลังนี้จะมีอายุครบ 60 ปี ในเดือนพฤศจิกายน 2567
5."ตึก 78 ปี (อาคารศิลปศึกษา)" สร้างเมื่อ พ.ศ.2516 ด้วยเงินงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ มี 3 ชั้น ชั้นบนเป็นยิมเนเซี่ยม ซึ่งเป็นโรงยิมแห่งแรกของกรมสามัญศึกษา ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชาศิลปศึกษา ชั้นล่าง เป็นโรงฝึกงาน ปัจจุบันเป็นศูนย์ฝึกกีฬาเทเบิ้ลเทนนิส ปี 2560 ได้รับงบประมาณทาสีภายใน ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ปี 2562 ทาสีภายนอกอาคาร โดยใช้งบประมาณของโรงเรียน ปี 2565 ได้รับงบประมาณปรับปรุงหลังคาจากกระเบื้อง เป็นเมทัลชีท ติดตั้งตาข่ายกันนก
6."อาคาร สุรีย์ เหวียนระวี" สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 ด้วยเงินบริจาคของคุณสุรีย์ เหวียนระวี และเงินสบทบของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกอีกส่วนหนึ่ง เป็นอาคาร 4 ชั้น ใช้เป็นสถานที่เรียนวิชาการงานอาชีพ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นหอพักนักเรียนโครงการลูกแก้วนาคา โดยได้รับจัดสรรงบประมาณ พ.ศ.2564 เป็นเงิน 2,432,000 บาท
7."อาคาร สมเด็จพระญาณสังวร" สร้างเมื่อ พ.ศ.2539 โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ผู้มีจิตศรัทธาและศิษยานุศิษย์ถวาย เป็นเงิน 93 ล้านบาท เป็นอาคารแฝด 5 ชั้น ปัจจุบันเป็นห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานกลุ่มบริหารต่างๆ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ โรงอาหาร ห้องสมุด และห้องพักนักเรียนโครงการกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล ปี 2567 ได้รับงบประมาณทาสีภายนอก และซ่อมแซมรางระบายน้ำฝน เป็นเงิน 1,974,200.00 บาท
8."อาคาร 111 ปีบวรนิเวศ" สร้างเมื่อ พ.ศ.2547 โดยได้รับบริจาคจากธนาคารออมสิน และคุณสุรีย์ เหวียนระวี เป็นอาคารชั้นเดียว เดิมใช้เป็นที่ทำการของฝ่ายกิจการนักเรียน งานประชาสัมพันธ์ และยามรักษาการณ์ และในปี 2564 รื้อลง ปรับเป็นลานเอนกประสงค์ เปิดพื้นที่ให้เห็นภายในโรงเรียน
Wat Bowonniwet School was established in 1893 and is located on the land of Wat Bowonniwetviharn Prasumain Road. In the past, Wat Bowonniwet School was the school used for teaching the children who lived in the Bowonniwet Temple. The school had taught mathematics and Literature. The teachers at that time were monks of the temple.
The school has been developed the curriculum for supporting Thai social development by opening new high school level. In 1978, the school established Matthayom 1-6 levels which last until today. The school has opened the 2 main curriculum, Science and Art Literature for the senior high school level in order to prepare the students for Thai university Central Admission System : TCAS. There are approximately 300 students in the school today.
- Symbol and Motto of the School
- High Respective Persons of the School
- History
- School’s policy, General office and Regulation
- School’s Curriculum and Activities
For more information, please contact:
Wat Bowonniwet School
Address: 250 Prasumain Rd., Bowonniwet, Pranakhorn Bangkok 10200
Telephone: 0-22820025
Facsimile: 0-2280-0564
© 2018-2024. By Charoon Pitakchaiyawong